วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558

รองศาสตราจารย์ เจริญ กระบวนรัตน์ ภาควิชาพลศึกษา
 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวถึงประโยชน์ของการวอร์มอัพไว้ว่า
“ เป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อให้ร่างกายได้ออกกำลังกายอย่างเต็มที่
และมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะระบบกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ข้อต่อต่าง ๆ
 รวมถึงเป็นการป้องกันการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้น 
ระหว่างการออกกำลังกายได้อีกทางหนึ่ง”
การวอร์มอัพอย่างถูกวิธีนั้นย่อมส่งผลดีต่อระบบต่าง ๆ
 ภายในร่างกายเป็นอย่างมาก เช่น 
ช่วยให้เกิดการไหลเวียนเลือดไปทั่วร่างกาย
 กระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ
 ช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจน
 สร้างพลังให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรง ยืดหยุ่น
 และทำให้ระบบการเผาผลาญพลังงานในร่างกายมีประสิทธิภาพมากขึ้น อ่านเพิ่มเติม

ชีวจิตปักษ์นี้มี 4 ท่าวอร์มอัพมาแนะนำครับ

  ประวัติกีฬาแฮนด์บอล

          กีฬาแฮนด์บอล มีที่มาจากประเทศเยอรมนี โดยนาย Konrad Koch ครูพละศึกษาคนหนึ่งแต่ก็ยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก จนกระทั่งปี พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) กีฬาแฮนด์บอลก็ถูกพัฒนาขึ้นในทวีปยุโรป และกำหนดกติกาขึ้นโดยอ้างอิงจากกติกาของกีฬาฟุตบอลเป็นหลัก ซึ่งเป็นการดัดแปลงกีฬาฟุตบอลมาเล่นด้วยมือแทน เดิมใช้ผู้เล่นทีมละ 11 คน แต่ลดลงเหลือทีมละ 7 คนแทน เนื่องจากผู้เล่นมีจำนวนมากจนเกินไปทำให้เล่นไม่สะดวก จากนั้นจึงค่อย ๆ แพร่หลายเรื่อยมา

          ในปี พ.ศ. 2471 (ค.ศ. 1928) แฮนด์บอลถูกนำไปสาธิตในงานกีฬาโอลิมปิก และถูกบรรจุเข้าเป็นหนึ่งในรายการการแข่งขันกีฬาระดับชาติเมื่อปี พ.ศ. 2474 (ค.ศ.1931) และเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายจนถูกบรรจุเข้าเป็นชนิดกีฬาการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก เมื่อปี พ.ศ. 2479 (ค.ศ. 1936) ก่อนที่จะเจอกับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 จนความนิยมลดลง

          ต่อมาในปี พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) ก็ได้มีการแก้ไขกติกาแฮนด์บอลใหม่ ด้วยการนำเอากติกาของกีฬาฟุตบอล และกีฬาบาสเก็ตบอลมาผสมกัน เพื่อฟื้นฟูความนิยมกีฬาแฮนด์บอลให้กลับมาอีกครั้ง ปัจจุบันกีฬาแฮนด์บอลกลายเป็นกีฬาที่นิยมกันไปทั่วโลก

แฮนด์บอล
ajfi / Shutterstock.com

  ประวัติแฮนด์บอลในประเทศไทย

          หลังจากที่กีฬาแฮนด์บอลนิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายไปทั่วโลกแล้ว ประเทศไทยก็เริ่มนำเอากีฬาแฮนด์บอลเข้ามาเมื่อปี พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) โดย อาจารย์กอง วิสุทธารมย์ อดีตอธิบดีกรมพลศึกษาในขณะนั้น ซึ่งในตอนนั้นยังกติกาแฮนด์บอลยังต้องมีผู้เล่นทีมละ 11 คน  จึงทำให้ไม่สะดวก และไม่เป็นที่นิยมในไทยมากนัก

          จนกระทั่งปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) อาจารย์ชนิต คงมนต์ ได้บรรจุกีฬาแฮนด์บอลเข้าสอนในโรงเรียนฝึกหัดครูพลานามัย และวิทยาลัยพลศึกษาอื่น ๆ ก่อนที่จะแพร่หลายไปยังโรงเรียนต่าง ๆ จนกลายเป็นหลักสูตรบังคับของชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเมื่อปี พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) และใช้กติกาการแข่งขันแบบสากลเมื่อปี พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) และเป็นที่นิยมในประเทศไทยในที่สุด อ่านเพิ่มเติม

แฮนด์บอล